วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มาสด้าชี้พ.ค.รถคันแรกใช้70%

มาสด้าชี้พ.ค.รถคันแรกใช้70%

มาสด้าเปิดตัวเลขขาย พ.ค. กลุ่มโครงการรถคันแรกใช้สิทธิกว่า 70% ด้านฟอร์ดเลิกหวังส่งมอบหันอัดโปรฯ ระบายเอง
นายอุทัย เรืองศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) ผู้แทนจำหน่ายรถมาสด้า เปิดเผยว่า ล่าสุดจากการปิดยอดจำหน่ายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีการรับรถของลูกค้าผู้ขอใช้สิทธิโครงการรถคันแรกแล้วกว่า 70% จะมีการ|ส่งมอบให้ลูกค้าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า 10% อยู่ระหว่างติดต่อลูกค้าเพื่อยืนยันเวลาในการรับรถ 20% เนื่องจากรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนขอใช้สิทธิได้โดยไม่กำหนดเวลา ลูกค้าจึงอยู่ระหว่างรอความพร้อมที่จะรับรถในประเด็นต่างๆ อาทิ ช่วงเวลาที่เหมาะสม การเงิน
ทั้งนี้ ปกติของธุรกิจรถยนต์ การยกเลิกการรับรถจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 10-20% โดยมีปัจจัยหลักมาจากเรื่องข้อจำกัดด้านการเงินของลูกค้า
นายอดิศัย สิริสิงห ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 คาดว่าสถานการณ์|การแข่งขันน่าจะมีความรุนแรง ทางด้านโปรโมชันจะรุนแรงไปตลอดจนถึงสิ้นปี หากสถานการณ์การจำหน่ายต่อเดือนสำหรับภาพรวมตลาดไม่ดีขึ้น การแข่งขันของบริษัท|ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ จะมีความรุนแรงขึ้นกว่าปัจจุบันอีก
“ยอดจำหน่ายภาพรวมตลาดในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะทรงตัวอยู่เดือนละ 1 แสนคัน หรือน้อยกว่า ไปจนกระทั่งสิ้นปี” นายอดิศัย กล่าว
ขณะที่ยอดจองรถยนต์ของบริษัทในโครงการรถคันแรกกว่า 2 หมื่นคัน ส่วนใหญ่มาจากรุ่นฟอร์ด เฟียสต้า บริษัทเลิกคาดหวังส่งมอบรถยนต์จากโครงการดังกล่าวไปแล้ว เพราะรายงานจากตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) แจ้งว่า กลุ่มลูกค้าเลื่อนการรับมอบรถยนต์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าเวลาจะรับมอบของลูกค้าอยู่ในช่วงใด
อย่างไรก็ตาม แม้สภาพตลาดผันผวนแต่บริษัทยังเดินหน้าตามแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ปีนี้ 2 รุ่น คือ เอคโค่ สปอร์ต และฟอร์ด เฟียสต้า ใหม่ ตามที่วางไว้
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ยอดการยกเลิกการรับรถยนต์ของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากในรุ่นซูซูกิ สวิฟท์ ที่ได้รับความนิยมในช่วงโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก 1 แสนบาทของรัฐบาลที่ผ่านมา มีจำนวนอยู่ในระดับ 10-15% ล่าสุดยอดค้างส่งมอบรถยนต์ (แบ็ก ออร์เดอร์) ในรุ่นดังกล่าวอยู่ที่ 1.5-1.7 หมื่นคัน ซึ่งบริษัทได้ทยอยส่งมอบโดยตลอด
“สำหรับยอดยกเลิกของบริษัทมีจำนวนไม่มาก ซึ่งมาจากปัจจัยความไม่พร้อมทางด้านการเงินของลูกค้าในจำนวนดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าเข้าใจถึงระยะเวลาการส่งมอบที่มีการแจ้งเบื้องต้นอยู่แล้ว” นายวัลลภ กล่าว

สินเชื่อบัวหลวงพูนผลเพื่อซื้อรถยนต์คันแรก

ผ่อนรถยนต์คันแรกสบายๆ แบบลดต้นลดดอก กับสินเชื่อบัวหลวงพูนผลที่ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ชำระมากกว่าเงื่อนไขไม่มีค่าปรับ

สำหรับท่านที่ใช้สิทธิ์ซื้อรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ เมื่อปี 2555 ในนามของตนเอง คู่สมรส หรือบุตร ขอสินเชื่อได้ในวงเงินสูงสุดเท่ากับราคารถยนต์ที่ซื้อ โดยใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
  • มอบวงเงินกู้สูงสุดเท่ากับราคาซื้อขายรถยนต์ (สูงสุดไม่เกิน 6 ล้านบาท)
  • อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง MLR-1% ตลอดอายุสัญญา
  • ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
  • สามารถใช้สิทธิ์จองซื้อรถยนต์ได้ทั้งในนามของตนเอง คู่สมรส และบุตร
  • ประหยัดด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ผ่อนชำระมากกว่าเงื่อนไข ไม่มีค่าปรับ เสียดอกเบี้ยตามภาระหนี้คงเหลือ
  • ระยะเวลากู้นานสูงสุดถึง 7 ปี หรือ 84 เดือน (รวมอายุผู้กู้ไม่เกิน 60 ปี)
  • ขอสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัย และค่าพรบ.ได้ (ในกรณีที่ทำประกันภัยกับบริษัท กรุงเทพประกันภัยผ่านธนาคาร)

สิทธิพิเศษ
  • ส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สำหรับปีแรก ในกรณีทำประกันคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิส์ตเต็มวงเงินกู้และระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในสัญญากู้
  • กรณีที่เป็นลูกค้าสินเชื่อบัวหลวงเดิม สามารถใช้หลักประกันร่วมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิมได้
    ไม่ต้องประเมินราคา และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจดจำนองเพิ่ม หากวงเงินสินเชื่อที่ขอครั้งนี้ รวมภาระหนี้ที่มีไม่เกินมูลจำนองเดิม

รถคันแรกส่งมอบหมด ต.ค.นี้ หลังเร่งผลิต-เลิกใบจองพุ่ง

ผู้ผลิตรถคาดส่งมอบรถคันแรกหมด ต.ค.นี้ หลังเร่งผลิตประกอบกับลูกค้าเลิกใบจอง เลื่อนรับรถที่มีแนวโน้มจะยกเลิกสูง เตรียมปรับแผนการผลิตครึ่งปีหลังเน้นส่งออกแทน
       
       นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่ายรถได้ทยอยส่งมอบรถในโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล โดยรถที่จะส่งมอบสิ้นปีจะทยอยส่งหมดในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนบางรุ่นที่จะส่งมอบต้นปี 57จะส่งได้หมดในเดือน ต.ค.เนื่องจากได้มีการเร่งผลิตช่วงต้นปีประกอบกับบางรายยกเลิกใบจองหรือเลื่อนการรับรถจนมีแนวโน้มที่จะยกเลิกเช่นกัน
       
       “ขณะเดียวกันมีลูกค้าหลายรายมีการยกเลิกรถยนต์ โดยบางค่ายส่งข้อมูลมาให้ ส.อ.ท. แล้วพบว่ามีการยกเลิก 12% และอีก 20% เลื่อนการรับรถยนต์”
       
       ทั้งนี้ ผลดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตเตรียมปรับแผนการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 56 โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 40% และผลิตขายในประเทศ 60% เนื่องจากผู้ประกอบการทยอยส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในโครงการรถยนต์คันแรกเกือบหมดแล้วจากเดิมที่คาดว่าจะหมดในช่วงต้นปี 57
       
       ขณะเดียวกันยังพบว่าทิศทางค่าเงินบาทของไทยเริ่มกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ดีต่อการส่งออกไทยอย่างมากต่างจากในช่วงต้นปี รวมถึงตลาดส่งออกในหลายประเทศขยายตัวในทิศทางที่ดีต่อเนื่อง เช่น ตลาดยุโรป, เอเชีย, ออสเตรเลีย, ตะวันออก เป็นต้น
       
       สำหรับยอดการผลิตรถยนต์ในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 231,070 คัน เพิ่ม 11.09% และเมื่อรวม 5 เดือนยอดผลิตรวมอยู่ที่ 1.12 ล้านคัน เพิ่ม 31.73% โดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถยนต์คันแรกและตลาดส่งออกที่ขยายตัวในระดับดี ส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถกระบะ 1 ตัน จำนวน 604,859 คัน เพิ่ม 7.85% และรถยนต์นั่ง 495,672 คัน เพิ่ม 80.58% ดังนั้น ทั้งปีคาดว่าสามารถผลิตรถยนต์ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ 2.55 ล้านคัน แต่จะถึง 2.8 ล้านคันตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งไว้นั้นคงต้องรอให้ทุกค่ายรถยนต์ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการยกเลิกใบจองในโครงการรถยนต์คันแรกว่าอยู่ในระดับใด หากไม่มากก็อาจจะมีโอกาสเหมือนกัน

"รถคันแรกเอฟเฟ็กต์" เกินคาด...! ดีมานด์เทียมโผล่-กำลังซื้อฝืด

คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ

เดือนมิถุนายนเข้าสู่โหมดกลางปี 2556 แล้ว เวลาไม่คอยใครจริง ๆ สิ่งที่หนักอกชาวบ้านในเวลานี้คงไม่พ้นปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งแซงค่าแรง 300 บาทไปแล้ว แม้แต่ราคาไข่ไก่ก็แพงหูฉี่ ในบางพื้นที่ไต่ระดับขึ้นไปเกือบจะทะลุฟองละ 5 บาทแล้ว 

ผู้ที่เกี่ยวข้องบางคนออกมาแจกแจงเหตุผลว่า ไข่แพง เพราะสภาพอากาศร้อน แม่ไก่ออกไข่ได้น้อยลง ทำให้ซัพพลายไข่ไก่ในตลาดหายไป และยังเป็นช่วงเปิดเทอมพอดี เด็ก ๆ หันมาบริโภคไข่กันมากขึ้น 

ฟังดูก็เหมือนมีเหตุมีผล แต่ตอนนี้ในระดับเสนาบดีผู้กุมชะตาประเทศก็ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า มีการเก็บสต๊อกไข่อยู่ในห้องเย็นมากน้อยเท่าไหร่ 

ในจังหวะขาขึ้นเช่นนี้ ถ้าใครปล่อยไข่ออกสู่ตลาดได้ก็จะโกยรายได้ไปเต็ม ๆ ข้าวไข่เจียว เมนูของคนมีรายได้น้อยขยับชั้นขึ้นเป็นเมนูผู้มีตังค์ไปแล้ว 

อีกเรื่องที่เป็นวาระร้อน "รถคันแรกเอฟเฟ็กต์" เมื่อปีที่แล้วผู้ผลิตรถยนต์และผู้บริโภคต่างดีอกดีใจกับนโยบายประชานิยมการลดภาษีรถคันแรก 

แท้ที่จริงแล้วในช่วงเวลานั้น ตลาดรถยนต์เมืองไทยก็อยู่ในช่วงขาขึ้นมาก ๆ อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายรถคันแรกนี้มา

กระตุ้นตลาดก็ได้ เพราะทำให้กลไกตลาดบิดเบือน เนื่องจากไปดึงแรงซื้อหรือดีมานด์ในอนาคตมารวมกันไว้ภายในปีเดียว 

ในแง่นโยบายถือว่าบรรลุผลสำเร็จเกินเป้า เพราะหลังปิดโครงการรถคันแรกสิ้นปี 2555 กรมสรรพสามิตสรุปยอดขอคืนภาษีทะลุ 1,254,854 ล้านคัน ต้องเตรียมจ่ายเงินคืนประชาชนกว่า 9 หมื่นล้านบาท

แต่วันนี้ นาทีนี้ สถานการณ์พลิกกลับทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งพอจะประมวลสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นให้เห็น ดังนี้ 

1.การจราจรอัมพาต ตอนนี้เกิดปัญหารถติดอย่างหนัก ผลพวงจากยอดจองรถคันแรกถล่มทลายกว่า 1 ล้านคัน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งขณะนี้ปริมาณรถใหม่ป้ายแดงทะลักออกมาแล้ว แต่พื้นผิวถนนมีอยู่เท่าเดิม ด้วยเหตุนี้รถจะไม่ติดได้อย่างไร 

นอกจากการจราจรอัมพาตในกรุงเทพฯแล้ว ในหัวเมืองใหญ่ก็กำลังเผชิญชะตากรรมนี้เช่นกัน เพราะในต่างจังหวัดก็แห่ใช้สิทธิ์ซื้อรถคันแรกจังหวัดละหลายหมื่นคัน ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง เมืองพัทยา เป็นต้น 

รถติดกลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้คนเสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน และเสียสุขภาพจิต เผาผลาญน้ำมันวันละหลายชั่วโมง เงินในกระเป๋าถูกสูบไปโดยไม่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ต้นทุนค่าเดินทางสูงมาก อีกทั้งยังเกิดอุบัติเหตุถี่ขึ้นทุกวัน มือใหม่หัดขับเต็มไปหมด ชีวิตของผู้คนเสี่ยงสุด ๆ บนท้องถนน

2.ผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ ทั้งรถใหม่และรถมือสอง ตอนนี้ยอดขายรถใหม่ก็เริ่มแผ่วตามคาดการณ์ของค่ายรถ แต่ปรากฏการณ์ที่น่าห่วงก็คือขณะนี้มีลูกค้าแห่ทิ้งใบจองหรือเลิกใช้สิทธิ์จากทั่วประเทศไปแล้วกว่า 4 พันคัน 

แม้ว่าผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จะออกมาระบุว่า การทิ้งใบจองรถยนต์ และการเลื่อนรับรถคันแรก หากอยู่ในสัดส่วน 10-20% จะไม่ส่งผลกระทบมากนัก 

แต่ที่แน่ ๆ ดีมานด์เทียมโผล่เป็นทิวแถวแล้ว 

ตอนนี้ดีลเลอร์หลายรายกำลังกุมขมับ ก่อนหน้านี้เจอปัญหาด้านซัพพลายส่งมอบรถให้ลูกค้าไม่ทัน แต่วันนี้ต้องมาแบกสต๊อกรถทิ้งดาวน์ ทิ้งใบจอง เลื่อนรับรถออกไป ต้องควักกระเป๋าอัดโปรโมชั่นแรง ๆ เรียกลูกค้า เพื่อเร่งระบายสต๊อกที่เป็นต้นทุนจมจำนวนมหาศาล

ส่วนตลาดรถมือสองก็แจ็กพอตไปด้วย ทำให้ราคาตก 5-10% เพราะคนเห่อไปใช้รถใหม่กันหมด ในฟากธุรกิจลีสซิ่งก็หืดจับไม่แพ้กัน คนเริ่มมีปัญหาส่งงวดรถ 

แม้แต่ดีลเลอร์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ในภาคใต้ ใจก็ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ รอลุ้นว่าราคายางพารา ปาล์มน้ำมันจะดีดตัวสูงขึ้นในเร็ววัน เพราะตอนนี้กลุ่มลูกค้าเกษตรกรหายไปเยอะ เซลส์รถยนต์ต้องหันไปจับตลาดข้าราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเงินเดือนประจำแทนเศรษฐีสวนยางที่เคยอู้ฟู่เมื่อ 2 ปีก่อน

3.ผลสะเทือนต่อกำลังซื้อ เพราะการซื้อรถคันแรกได้ "ดูดกำลังซื้อ" ไปหมด นักธุรกิจในหัวเมืองให้ข้อมูลตรงกันว่า ช่วงนี้บรรยากาศการจับจ่ายในต่างจังหวัดเริ่มเงียบเหงา เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน 

สาเหตุหลัก ๆ มาจากรถคันแรกเอฟเฟ็กต์ เพราะแทบทุกครัวเรือนต้องแบ่งเงินก้อนใหญ่เอาไว้ผ่อนรถทุกเดือน จึงทำให้เงินสดในมือเหลือน้อยลง กำลังซื้อหดหาย ต้องรัดเข็มขัด และเลือกที่จะจับจ่ายเฉพาะสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเท่านั้น 

เรียกได้ว่า สะเทือนกันไปทั้งระบบ...! 

10 อันดับรถยนต์ที่คนฮิตจอง ในโครงการรถคันแรก



เข้า สู่ช่วงโค้งสุดท้าย แล้วสำหรับนโยบายรถคันแรกที่หลายคนต่างอยากที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์รุ่นใหม่ หลังรัฐบาลช่วยเหลือในการให้เงินสนับสนุนคืนเงินภาษี โดยล่าสุด หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ 10 รถยนต์ยอดนิยมที่คนจอง จากโครงการรถคันแรก มากที่สุดมาให้ได้ดูกัน

อันดับ 1 ยังคงอยู่ในใจคนไทยกับรถยนต์ Toyota Vios ที่สามารถครองยอดขายเอาไปได้ด้วย จำนวนที่สูงเกือบเป็น 2 เท่าของรถคันแรกที่เข้ามาในอันดับที่ 2 ด้วยยอดขาย 80,410 คัน ตอกย้ำความเป็นที่สุดของรถยนต์นั่งในตลาดรถยนต์ชั้นนำของในประเทศไทย

อันดับที่ 2 ยกให้ ฮอนด้า ซิตี้ Honda City คันนี้ยังดูดีและเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน ด้วย ยอดขายกว่า 44,079 คัน ถือว่ามากพอสมควร สำหรับรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการรถคันแรก ถือว่าเป็นรถยนต์ที่ตอบสนองได้ลงตัวทั้งสมรรถนะและการออกแบบ

อันดับที่ 3 ของรถคันแรกยอดฮิต และในอันดับนี้ รถยนต์ Nissan Almera รั้ง เข้ามาเป็นคันแรก ด้วยยอดถึง 35,279 คัน ในโครงการนี้ ถือว่ามากพอสมควร สำหรับรถยนต์ที่เปิดตัวได้เพียง 1 ปีเท่านั้น

อันดับที่ 4 ยกให้ Mazda 2 กับทรวดทรงที่โดนใจ พร้อมข้อเสนอที่โดนใจลูกค้า และออพชั่นที่คุ้มค่าเลยทำให้ Mazda 2 เข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้อย่างไม่ยาก แถมการรับประกันคืนเงินจากโครงการรถคันแรสูงสุด 1 แสนบาท ก็ทำให้ เจ้ารถคันนี้มียอดเข้ามาในโครงการถึง 28,474 คัน

อันดับที่ 5 นิสสัน มาร์ช อีโคคาร์รุ่นแรกยังขายดี ด้วยยอดขายถึง 23,218 คัน ที่เข้าร่วมโครงการรถคันแรก ซึ่งถือว่ายังรักษาสภาพได้ดี แม้จะมาก่อนเพื่อนก็ตาม ซึ่งในอีกไม่นานนี้น่าจะมาปรับในเรื่องของออพชั่นออกมาอีกในช่วงปีหน้า ก็คงต้องจับตากันให้ดี

อันดับที่ 6 Ford Fiesta เบียดแซงคนอื่น มากับการทุ่มทุนสร้างของค่ายรถยนต์ Ford ที่มองถึงความต้องการรถยนต์จากลูกค้า จนปรับรุ่น 1.5 ออกมาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และเพียงแค่นี้มันก็เข้าที่อันนดับที่ 6 กับยอดเข้าโครงการถึง 19,762 คันไปแล้ว

อันดับที่ 7 Honda Jazz รถยนต์แฮทช์แบ็ค จากฮอนด้ารุ่นที่ 2 กลับเข้ามาอีกครั้งในอันดับที่ 7 แม้จะไม่ได้รับความนิยมนักในโครงการรถคันแรก จากยอดที่เข้าร่วมเพียง 19,499 คัน แต่รถยนต์รุ่นนี้ก็ได้รับความนิยมพอตัว แม้จะผ่านการเปลี่ยนโฉม และในอนาคตน่าจะมีความเคลื่อนไหว ในการเปลี่ยนรุ่นในอีกไม่ช้านี้

อันดับที่ 8 มิตซู มิราจ อาจจะเห็นกันมากบนถนน แต่ไม่น่าเป็นรถที่ได้รับความนิยมในโครงการรถคันรกนัก อาจจะด้วยธรรมชาติของค่ายนี้ แต่มิราจ ก็ยังโดนใจด้วยยอดจำนวนรถ 18,698 คัน ที่เข้าตามโครงการรถคันแรก

อันดับที่ 9 โตโยต้า ยาริส อีกแฮทช์แบ็คที่เริ่มอ่อนแรงแต่ก็ยังขายได้พอควร กับรถรุ่นนี้ แม้จะไม่มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ แต่มีกระแสว่ารถอีโค่คาร์จากค่ายโตโยต้า จะเข้ามาเสียบแทนรถรุ่นนี้ ส่วนราคา ตอนนี้มันก็เข้าโครงการรถคันแรกไปถึง 13,084 คัน

อันดับที่ 10 ฮอนด้า บริโอ้ อีโคคาร์ที่มาพร้อมเรือนร่างเล็ก ในขณะที่ตอนก่อนเปิดตัวได้รับความสนใจมาก แต่เมื่อเปิดตัวออกมา กลับไม่เป็นที่นิยมอย่างที่คิด แต่ก็มียอดขายล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม โดยมียอดรถ 11,959 คัน ในโครงการรถคันแรก


ที่มา.
http://variety.thaiza.com

หมด'รถคันแรก'ตลาดวูบ!รอบ17เดือน

หมด'รถคันแรก'ตลาดวูบ!รอบ17เดือน

หมดแรงหนุนรถคันแรก ยอดขายรถยนต์เริ่มแผ่ว เดือนพ.ค.ลดลงครั้งแรกในรอบ 17 เดือน ผู้บริหารค่ายรถมองตลาดเดือนมิ.ย.เห็นสัญญาณชะลอตัวชัดขึ้น เชื่อครึ่งปีหลังแข่งเดือด


                         นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2556 ว่า มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 111,848 คัน ลดลง 3.5% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 17 เดือน เป็นผลจากการที่ลูกค้าที่จองรถยนต์เพื่อใช้สิทธิรถยนต์คันแรกส่วนใหญ่ได้ทยอยรับรถเรียบร้อยแล้ว โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 52,734 คัน ลดลง 5.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 59,114 คัน ลดลง 1.4%
                         สำหรับตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 634,777 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายสะสม 5 เดือนแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 31.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 53.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทยอยส่งมอบยอดค้างจองรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่เริ่มตั้งแต่ในช่วงต้นปี
                         "ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่จองรถยนต์เพื่อใช้สิทธิรถยนต์คันแรกตั้งแต่ปีที่ผ่านมาได้ทยอยรับรถเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าเป็นการที่ตลาดกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ หลังจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่แล้ว" นายวุฒิกรกล่าว
                         ด้านนายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นว่า ภาวะตลาดรถยนต์เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะที่สะท้อนความต้องการของตลาดรวมที่แท้จริง จากการทยอยรับรถของผู้ใช้สิทธิรถคันแรก ซึ่งภาวะการแข่งขันในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปจะมีความเข้มข้นขึ้นมากกว่าในครึ่งปีแรก เนื่องจากเหลือระยะเวลาขายอีกไม่นาน ในขณะที่หลายค่ายตั้งเป้ายอดขายไว้สูงจำเป็นต้องเร่งทำยอดให้ได้ตามที่ประกาศไว้
                         สำหรับซูซูกิซึ่งก่อนหน้านี้ได้ชื่อว่ามียอดสั่งซื้อล่วงหน้ามากที่สุดค่ายหนึ่งจากอิทธิพลของรถคันแรก ทำให้ยอดส่งของซูซูกิ ยาวนานกว่า 10 เดือน ปัจจุบันนี้ซูซูกิได้เร่งส่งมอบรถเดือนละกว่า 3,300 คัน และคาดว่ายอดสั่งซื้อล่วงหน้าที่คงค้างจะส่งมอบได้หมดในเดือนตุลาคมนี้ ขณะที่ยอดสั่งซื้อใหม่หลังเดือนตุลาคมจะเข้าสู่สภาพปกติคือใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งมอบรถ
                         ทั้งนี้ ในปี 2556 คาดว่า ปริมาณความต้องการของรถยนต์ในประเทศจะอยู่ที่ 1.2 ล้านคัน ลดลงจากปีที่แล้วที่มียอด 1,436,335 คัน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยอดขายรถยนต์ของไทย ซึ่งความต้องการของตลาดรถยนต์ในประเทศปีก่อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกระตุ้นการบริโภคภายในด้วยนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐในโครงการรถยนต์คันแรก และปริมาณความต้องการสะสมอันเป็นผลต่อเนื่อง รวมทั้งมาจากผลกระทบจากน้ำท่วม ในปี 2554 ประกอบกับกำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

เปิดหลักเกณฑ์ รถคันแรก คืนภาษีให้ประชาชน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ในที่สุดมหกรรมยานยนต์งานใหญ่ของปี ก็เวียนมาถึงกันอีกแล้ว สำหรับงาน "บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ครั้งที่ 33" หรืองาน มอเตอร์โชว์ 2012 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 8 เมษายน 2555 ซึ่งในปีนี้มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่กว่า 30 รุ่น รถจักรยานยนต์อีก 60 รุ่น และรถต้นแบบประหยัดพลังงานอีก 7 คัน แต่ที่ทำเอาฮือฮาไม่น้อย นั่นคือ การเปิดตัวรถยนต์อีโคคาร์อีก 2 รุ่นใหม่ คือ มิตซูบิชิ mirage และ ซูซูกิ swift ที่เข้าข่ายคืนภาษีรถคันแรกของรัฐบาลด้วย

          นอกจากนี้ ค่ายรถยนต์อย่างฟอร์ด ก็ได้ส่ง ฟอร์ด เฟียสต้า ขนาดใหม่ 1.5 ลิตร มาประลองตลาดด้วยเช่นกัน จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ยอดจองรถ มอเตอร์โชว์ 2012 น่าจะคึกคักไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะรถในกลุ่มที่เข้าหลักเกณฑ์ คืนภาษีรถคันแรก

เปิดหลักเกณฑ์ รถคันแรก คืนภาษีให้ประชาชน

          อ๊ะ ๆ ... แต่ก่อนที่จะเลือกซื้อรถยนต์ เพื่อรับสิทธิ์คืนภาษีได้นั้น ผู้ซื้อต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของนโยบายรถคันแรกให้แน่ชัดเสียก่อน เราจึงได้นำหลักเกณฑ์การคืนภาษีรถคันแรก มาย้ำเตือนกันอีกครั้ง ดังนี้...

           1. ต้องเป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อ

           2. ต้องทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2554-31 ธันวาคม พ.ศ.2555

           3. เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน

           4. เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถกระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)

           5.เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)

           6. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน

           7. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

           8. ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี หากผู้ซื้อรถไม่สามารถผ่อนต่อได้ หรือมีเหตุอย่างอื่น จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับให้กรมสรรพสามิต หากไม่ดำเนินการ ทางกรมสรรพสามิตจะใช้วิธีการทางศาล เพื่อให้สั่งให้คืนทะเบียนรถยนต์

           9. การคืนเงินจะคืนเมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปีไปแล้ว โดยจะเริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ซึ่งกรมสรรพสามิตจะจ่ายผ่านทางเช็คเงินสดครั้งเดียวเต็มจำนวน

           10. สามารถซื้อรถแบบเงินผ่อนผ่านไฟแนนซ์ หรือเงินสดก็ได้

           11. รถมือสองไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ เนื่องจากรถมือสองไม่มีภาษีสรรพสามิตในการซื้อ-ขาย 

เปิดหลักเกณฑ์ รถคันแรก คืนภาษีให้ประชาชน

          หากผู้ซื้อมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ดังข้างต้นแล้ว ก็เตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอใช้สิทธิ์ซื้อ "รถคันแรก" ได้เลย ซึ่งประกอบไปด้วย...

           1. สำเนาบัตรประชาชน

           2. สำเนาทะเบียนบ้าน

           3. สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)

           4. สำเนาคู่มือการจดทะเบียน

           5. หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนรถยนต์คันแรกภายใน 5 ปี

           6. หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (ใบจอง/สัญญาซื้อขาย)

          ทั้งนี้ กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ จะส่งหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิการโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ ก่อนที่กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก "ห้ามโอนภายใน 5 ปี" ลงในคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน

          จากนั้น กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดจะส่งหนังสือรับรองให้กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และจะสั่งจ่ายเช็คเงินสดคืนให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป

เปิดหลักเกณฑ์ รถคันแรก คืนภาษีให้ประชาชน

          นอกจากนี้ จากการตรวจสอบจากราคารถยนต์ และอัตราภาษีของรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ในท้องตลาด เพื่อคิดเป็นสัดส่วนเงินภาษีที่จะได้รับคืน จะพบว่า...

           รถอีโคคาร์ ราคาประมาณคันละ 3.75-5.4 แสนบาท เก็บภาษี 17% ผู้ซื้อจะได้รับเงินคืนเฉลี่ย 45,000 บาท

           รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (ไม่เกิน 1,500 ซีซี) ราคาประมาณคันละ 5-7 แสนบาท เก็บภาษี 25% ผู้ซื้อจะได้รับเงินคืนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

           รถกระบะ 2 ประตู ราคาประมาณคันละ 3-5 แสนบาท เก็บภาษี 3% ผู้ซื้อจะได้รับเงินเฉลี่ย 10,000 บาท

           รถกระบะ 4 ประตู ราคาประมาณคันละ 7-8 แสนบาท เก็บภาษี 12% ผู้ซื้อจะได้รับเงินคืนเฉลี่ย 60,000 บาท

          ...เป็นนโยบายที่น่าสนใจไม่น้อยเลยจริงไหมคะ เพื่อน ๆ ก็อย่าลืมไปตามหารถในฝันมาจับจองเป็นเจ้าของกันได้นะจ๊ะ

แห่คืน-เลื่อนรับรถคันแรก ค่ายรถอ่วม!

รถคันแรก,ทิ่้งใบจอง,ค่ายรถยนต์,เลื่อรับรถยนต์
ค่ายรถยนต์เผยลูกค้าแห่เลื่อนรับ "รถคันแรก" กระทบสต็อก-ต้นทุน แจง "จองซ้อนคัน" เหตุทิ้งใบจอง ทั้งหวั่นกำลังซื้อหดฉุดยอดจองใหม่ชะลอตัว
โครงการส่งเสริมการมี "รถคันแรก" ซึ่งเกิดขึ้นตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาล แม้โครงการจบลงไปแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2555 ด้วยยอดจองสูง 1.2 ล้านคัน แต่ยังมีกระบวนการเกี่ยวเนื่องหลายด้านตามมา ทั้งการส่งมอบ การยกเลิกการจอง รวมไปถึงการทำให้หนี้สินภาคครัวเรือนขยายตัวอย่างมาก ฉุดรายจ่ายสินค้าทั่วไปซบเซา จนต้องมีการจับตามองในเรื่องนี้
มาสด้า ระบุว่า ปัจจุบันมีลูกค้าที่ "ไม่รับรถ" คิดเป็นสัดส่วนสูง 70% ทำให้บริษัททำการตลาดได้ยาก เพราะไม่ทราบความต้องการที่แท้จริง ช่วงนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางหันเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่แทน ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีความสดใหม่ เช่น รุ่นพิเศษ​หรือรุ่นปรับปรุงโฉม การจัดแคมเปญส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยกเลิกการจองโดยรวมของโครงการรถคันแรกเชื่อว่าไม่ถึง 70% เนื่องจากมีการส่งมอบรถที่จองไปแล้วมากกว่า 50% ส่วนใหญ่จะส่งมอบได้ครบถ้วนภายในครึ่งปีแรกนี้ หากจะมีการยกเลิกการจอง น่าจะต้องต่ำกว่า 50%
เชื่อยกเลิกจองสูงเหตุ'จองซ้ำซ้อน' 
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ซูซูกิ มีรถที่เข้าในโครงการรถคันแรก คือ อีโค คาร์ ซูซูกิ สวิฟท์ มียอดจองรวม 3 หมื่นคันในปีที่ผ่านมา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าใช้สิทธิ์รถคันแรกเท่าไร เพราะข้อมูลการใช้สิทธิ์ทั้งหมดอยู่ที่กรมสรรพสามิต
"ซูซูกิ เก็บข้อมูลจากการสอบถามลูกค้าที่เข้ามาจองว่าใช้สิทธิ์หรือไม่ ทำให้คาดการณ์ว่าน่าจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 70% หรือ 2.1 หมื่นคัน ส่วนยอดการยกเลิกการจองของซูซูกิ มี 10% เท่านั้น ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีกระแสข่าวการคืนใบจองก็ทำการตรวจสอบอีกครั้ง แต่ไม่พบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นอย่างใด"
กระแสข่าวคืนใบจองจำนวนมากนั้น เชื่อว่าส่วนใหญ่มาจากกลุ่มลูกค้าที่จองรถไว้หลายยี่ห้อ หรือหลายโชว์รูม เป็นการจองเผื่อ หากว่าแห่งใดได้เร็วกว่า ก็จะยกเลิกการจองแห่งอื่นไป ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการพูดถึง และวิตกกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และการที่ค่ายรถไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ายอดจองจากผู้ใช้สิทธิ์ในโครงการรถคันแรกมีจำนวนเท่าใด จึงไม่รู้ว่าลูกค้าที่จองรถของตนไปจองยี่ห้ออื่น หรือโชว์รูมอื่นไว้ด้วยหรือไม่
"ผู้ที่ถอนจองเพราะไม่พร้อมทางการเงินอาจจะมีบ้าง แต่น้อย ยอดที่หายไปมาจากการจองซ้ำซ้อน ซึ่งมีอยู่มาก ส่วนผู้ที่จองคันเดียวแล้วยกเลิก มีไม่มาก ยิ่งรัฐไม่ได้กำหนดระยะเวลาการรับรถ ใครไม่พร้อมทางการเงินจะถือสิทธิ์ค้างไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะเงินจมแค่เงินวางจอง แต่ถ้าคืนการจอง หากวันหน้ามีความพร้อมหรือต้องการใช้รถขึ้นมา ก็ไม่ได้สิทธิ์ลดภาษีแล้ว"
สำหรับยอดจองจากโครงการ 1.25 ล้านคัน กรมสรรพสามิต ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกว่าเป็นยี่ห้อใด รุ่นใด ปริมาณเท่าไร โดยให้เหตุผลว่าจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการ ที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันได้
'ค่าจองต่ำ' ดันยอดเกิน 1.2 ล้านคัน
แหล่งข่าวในวงการกล่าวว่า การจองรถซ้ำซ้อนเกิดขึ้นอย่างมากในช่วงปลายโครงการ เนื่องจากพนักงานขาย หรือค่ายรถต่างๆ พยายามเก็บยอดจองให้ได้มากที่สุด และมีเงื่อนไขการจองที่จูงใจ เช่น เงินจองที่หลายแห่งลดเหลือ 1,000 บาท จากปกติอยู่ในระดับ 5,000-10,000 บาท
"ลูกค้าอาจจะไม่ได้สนใจจะจองหลายคัน แต่เมื่อได้เงื่อนไขจองต่ำก็คิดว่าถ้าจอง 3 คัน เสียแค่ 3,000 บาท ถ้าได้รถแล้วทิ้งอีก 2 แห่งไป เสียแค่ 2,000 บาท ก็ยังคุ้ม และยังมีลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ได้มีความต้องการใช้รถจริงจัง แต่เมื่อเจอแรงจูงใจเช่นนี้ก็รักษาสิทธิเอาไว้ก่อน พร้อมแล้วค่อยซื้อเพราะรัฐไม่กำหนดเวลารับรถ ถ้าซื้อไม่ไหวจริงๆ ก็เสียเงินจองแค่ 1,000 บาท ลูกค้าเหล่านี้ทำให้ตัวเลขผิดเพี้ยนและมีผลต่อการบริหารสต็อก"
จองต่ำ-เสี่ยงสูง นิสสันเผยคืนหลักพัน
นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การกำหนดเงินจองต่ำระดับ 1,000 บาท ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน เพราะลูกค้าพร้อมทิ้งการจอง บางรายขอเลื่อนการรับรถออกไปเรื่อยๆ
การยกเลิกการจองยังเกิดจากลูกค้าบางคนไม่สามารถรอรถได้ กรณีที่รุ่นนั้นมีผู้จองจำนวนมาก แต่มีความจำเป็นต้องใช้งาน จึงเปลี่ยนไปซื้อรถคันอื่นแทน ประกอบกับมีรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเป็นทางเลือก ทำให้หลายคนเปลี่ยนใจ แม้จะไม่ได้สิทธิ์คืนภาษีแต่มีส่วนชดเชยจากแคมเปญที่แข่งขันกันรุนแรง บางรุ่นอาจมีมูลค่าใกล้เคียงกับสิทธิในโครงการรถคันแรก
ในส่วนของนิสสัน ไม่พบว่ามีการคืนการจองที่ผิดปกติ เนื่องจากยอดค้างจองในปี 2555 บริษัทเร่งการส่งมอบได้เกือบครบแล้วจากการเร่งการผลิต โดยเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ส่งมอบได้ 2 หมื่นคัน สูงกว่าปกติส่งมอบเฉลี่ย 1 หมื่นคัน ส่วนการคืนการจองไม่พบว่ามีสิ่งผิดปกติ มีการคืนต่ำเพียง 1,000 คัน จากยอดรวมกว่า 1 แสนคัน
"ยอดจองทั้งหมดอยู่ในโครงการรถคันแรกเท่าไรไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่คิดว่าน่าจะ 50-60% ในส่วนของรถยนต์นั่ง ส่วนปิกอัพก็น้อยกว่านั้น เพราะได้คืนภาษีต่ำกว่า"
ทั้งนี้ นิสสันไม่ห่วงปัญหาจากยอดจองรถคันแรก แต่กังวลกับยอดจองในปัจจุบันที่หายไปพอสมควร เนื่องจากกำลังซื้อส่วนหนึ่งถูกดึงไปใช้ในโครงการรถคันแรก สิ่งที่เห็นได้ในช่วงนี้คือการช่วงชิงยอดจองใหม่ผ่านแคมเปญส่งเสริมการขาย ซึ่งนิสสัน จะไม่ลงไปแข่งแคมเปญ แต่จะใช้วิธีการปรับการผลิตให้สมดุล คาดวางแผนได้ชัดเจนใน 2 เดือนข้างหน้า
ไม่กำหนดรับรถ ดันต้นทุนพุ่ง
นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่รัฐไม่กำหนดเวลารับรถ ทำให้เกิดปัญหาต่อทั้งตัวแทนจำหน่ายและบริษัท เพราะไม่รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง ลูกค้าหลายคนไม่แจ้งยกเลิกการจอง แต่ขอเลื่อนออกไปก่อน เพราะความไม่พร้อมหลายด้าน ทำให้การสต็อกรถของตัวแทนจำหน่ายมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนดอกเบี้ย เนื่องจากสั่งรถจากโรงงานมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการดูแลรักษา ค่าจอด ที่ผ่านมาต้องพยายามจัดคิวใหม่ นัดหมายลูกค้ารายอื่นรับรถแทน แต่ก็ไม่สะดวกนัก เพราะแต่ละคนจองรุ่น และสีที่แตกต่างกัน
"การเลื่อนการรับรถมีผลกระทบมากกว่า การยกเลิกการจอง แต่ มิตซูบิชิ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าคืนการจอง หรือว่าเลื่อนรับรถมีปริมาณเท่าใด เพราะสถานการณ์แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ล่าสุดตัวแทนพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ระบุว่ามีลูกค้ารับรถไปแล้ว 80% และขอเลื่อน 20%
บริษัท เตรียมรับมือกับปัญหานี้โดยพยายามรักษาระดับการผลิตให้สมดุลกับตลาด ลดอัตราเร่งที่เคยเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งการส่งมอบ คาดว่าภายใน 2 เดือน สต็อกจะสมดุล
โตโยต้า ยัน ยอดคืนไม่มีนัยสำคัญ
นายวิเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า โตโยต้าไม่ทราบว่ายอดจองจากโครงการรถคันแรกมีปริมาณเท่าใด เพราะข้อมูลอยู่ที่กรมสรรพสามิต แต่ในส่วนของ วีออสใหม่ ที่เข้าโครงการช่วงปลายปี มียอดจอง 1 หมื่นคัน คาดว่าส่วนใหญ่จะเป็นยอดจองจากโครงการรถคันแรก ซึ่งได้ทยอยส่งมอบไปจำนวนมากแล้ว คาดว่าจะส่งได้หมดภายในเดือนนี้
ทั้งนี้ การคืนการจองรถของโตโยต้าในช่วงนี้ ไม่มีภาวะผิดปกติแต่อย่างใด ทำให้ภาคการผลิตของโตโยต้ายังคงเป็นไปตามปกติ เพื่อเร่งการส่งมอบให้ได้เร็วที่สุด คาดจัดการได้ภายในเดือนมิ.ย. นี้
ฮอนด้าชี้ยกเลิกจอง 5-10%
นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันไม่มีปัญหาที่เด่นชัดเกี่ยวกับการยกเลิกการจอง ซึ่งพบว่ามีสัดส่วน 5-10% จากยอดจองกว่า 1 แสนคัน เนื่องจากความไม่พร้อมทางการเงิน ถือว่าอยู่ในภาวะปกติ และไม่ส่งผลต่อการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา ฮอนด้าได้เร่งการผลิตเพื่อส่งมอบให้ได้เร็วที่สุด คาดปิดตัวเลขค้างได้ภายใน 2-3 เดือนนี้ เชื่อว่าฮอนด้าจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากโครงการนี้ ส่วนลูกค้าที่ไม่เลิกการจอง แต่เลื่อนการรับมอบมีสัดส่วนต่ำกว่า 10% ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนตัว เช่น เปลี่ยนงาน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย ทำให้ไม่สะดวกที่จะรับรถ

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ห่วง'รถคันแรก'เลิกกัดฟันผ่อนหลังคืนภาษี

ห่วง'รถคันแรก'เลิกกัดฟันผ่อนหลังคืนภาษี

สมาคมเช่าซื้อชี้ประเด็นน่าห่วง 'รถคันแรก' หลังรับเงินภาษี 1 แสนบาท คืนอาจผ่อนต่อไม่ไหว แนะต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้


               นายฉลอง นิ่มเนียม หัวหน้าส่วนคดี กรมสรรพสามิต กล่าวในการสัมมนา "โครงการรถยนต์คันแรกกับการผิดสัญญาเช่าซื้อ" จัดโดยศาลแพ่ง ว่า กรมสรรพสามิตได้จ่ายเงินภาษีในโครงการรถคันแรกคืนให้ผู้ใช้สิทธิไปแล้วกว่า 2.5 แสนราย เป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท และกำลังตรวจสอบข้อมูลการรับรถถึงวันที่ 31 พฤษภาคม เพื่อจ่ายเงินคืนอีก 3,000 ล้านบาท คาดว่าถึงสิ้นปีงบประมาณ 2556 ต้องจ่ายเงินคืนอีก 50,000 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2557 มียอดที่ต้องพิจารณา 6 แสนราย ซึ่งโครงการนี้มีผู้ยื่นขอใช้สิทธิ์ 1.25 ล้านราย กรมต้องจ่ายเงินคืน 91,800 ล้านบาท เท่ากับปัจจุบันจ่ายคืนไปแล้วประมาณ 20%

               นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับโครงการรถคันแรกคือ ในอนาคตหลังจากได้รับเงินภาษีคืนแล้ว 1 แสนบาท ในอนาคตความสามารถในการผ่อนชำระจะเป็นอย่างไร เพราะผู้ซื้อบางรายอาจไม่ได้ดูกำลังซื้อหรือใช้ชื่อผู้อื่นมาใช้สิทธิ์แทน ซึ่งสมาคมต้องติดตามดูว่าอีก 5 ปี จะมีกำลังชำระค่างวดหรือไม่ หากไม่ไหวก็ควรเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน เพราะหากถูกยึดต้องรับภาระทั้งการคืนภาษี และชำระค่างวดรถเต็มจำนวนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ตรวจสอบขณะสมาชิกสมาคมไม่พบว่ามีปัญหา เพราะยังเป็นช่วงการดำเนินการของกรมสรรพสามิตที่จะตรวจสอบเรื่องการถือครอง

               "สถาบันการเงินก็ต้องตรวจสอบเหมือนกันว่าคนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ทำให้ความรับผิดชอบการชำระหนี้น้อยลง" นายอนุชาติกล่าวและว่า ผู้ซื้อกว่า 1.2 ล้านราย ซื้อผ่านไฟแนนซ์ 80% หรือประมาณ 9 แสนคัน หากยกเลิกไปบ้างอาจจะเหลือ 7 แสนราย

               ด้าน นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด กล่าวว่า ปี 2555 มีผู้ขอสินเชื่อใหม่รวม 14 ล้านรายการ ส่วนหนึ่งมาจากโครงการรถคันแรกด้วย ส่วน 4 เดือนแรกปีนี้ มียอดประมาณ 8 ล้านรายการ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีผู้วิ่งเข้าหาสินเชื่อมากขึ้น หลังจากเดือนมิถุนายน จะเฝ้าติดตามเรื่องรายได้รายจ่ายของบุคคล โดยกลุ่มที่สำนักวิจัยมองว่าเสี่ยงสูงในการมีบัญชีหนี้ คือ ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท หรือ ทั้งครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 25,000 บา

ชี้“รถคันแรก"ปัญหาเพียบ นำคดีเข้าสู่ศาลอื้อ

วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมเนติศร ชั้น10 อาคารศาลแพ่งกรุงเทพใต้   ถนนเจริญกรุง ซอย 63 นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการ “โครงการรถยนต์คันแรกกับการผิดสัญญาเช่าซื้อ” โดยมีนายประพาฬ อนมาน อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ รองอธิบดี ข้าราชการ และลูกจ้างให้การต้อนรับ พร้อมนักกฎหมาย นักธุรกิจด้านรถยนต์ และประชาชนผู้สนใจ ประมาณ 300 คนเข้าร่วมสัมมนา
โดย นายฉลอง นิ่มเนียม หัวหน้าส่วนคดี กรมสรรพสามิต กล่าวว่าขณะนี้ ทางกรมฯได้ทยอยจ่ายเงินภาษีคืนไปแล้ว 17 งวด รวมจ่ายเงินคืนแล้ว 5 หมื่นล้านบาท  และเดือนก.ย.56 คาดว่าจะจ่ายเงินคืนแก่ผู้มีสิทธิอีก 2 แสนคัน และในปี 57 จะมีผู้ทยอยรับรถยนต์อีก 6 แสนคัน ปัญหาคือถ้าผู้เช่าซื้อเสียชีวิตก่อนชำระครบเวลาถือครองรถยนต์ 5 ปี  ก็จะนำมาซึ่งปัญหาว่า จะต้องโอนเงินภาษีคืนแก่รัฐ  และถ้าเป็นกรณีรถยนต์หายระหว่างเช่าซื้อ และประกันภัยจ่ายค่าสินไหมแก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อต้องคืนเงินภาษีแก่รัฐ
นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย กล่าวว่า มาตรการรถคันแรกจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์  แต่ทำให้รถติดมากขึ้นเช่นกัน มียอดผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 1.25 ล้านคัน ตอนนี้ช่วง 4 เดือน แรกขายรถไปแล้ว 5 แสนคัน กำลังจะส่งรถยนต์ล็อตใหญ่ในปี 57 แต่ปัญหา คือ ผู้ซื้อเริ่มไม่ไปรับรถ คาดว่าร้อยละ 20 อาจเป็นเพราะไม่มีกำลังผ่อนส่ง ไฟแนนซ์ไม่ผ่าน กับพวกที่ขอยกเลิกการสั่งจองไปเลย เพราะยอมรับเงื่อนไขไม่ได้
ทั้งนี้มีรถยนต์ที่ออกมาหลังมาตรการคืนเงิน1 แสนบาทในบางยี่ห้อ มีโปรโมชั่นดีกว่า ทางสมาคมฯ พบว่ายอดซื้อรถ จองรถทั้งหมดมีร้อยละ 90 เป็นรถเงินผ่อน และหากคนเหล่านี้ผ่อนชำระไม่ได้ ผู้เช่าซื้อควรไปเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ และหากผ่อนไม่ไหวจริงๆก็ต้องขายรถแต่เงิน 1 แสนบาทที่รับไปต้องคืนรัฐ
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าวว่า มียอดผู้บริโภคขอกู้เงินไปผ่อนรถจำนวนมากกว่า 1 รายการ ทางไฟแนนซ์ จะส่งข้อมูลบัญชีกู้มาทางระบบเครดิตบูโร ปัจจุบันมีมากถึง 67ล้านบัญชี เฉพาะปี 56 มีเข้ามาสูง 8 ล้านรายการบัญชี ดังนั้นการอนุมัติเงินกู้จึงต้องเข้มงวดมากขึ้นโดยมีการเรียกตรวจสอบถึง 1 ล้านรายการต่อเดือน โครงการรถคันแรกมีส่วนทำให้ยอดบัญชีมากขึ้นจนตนสงสัยว่า จะเอาถนนที่ไหนวิ่ง เพราะหากเอาถนนทั้งหมดในกรุงเทพมาให้รถมาจอดเรียงกันก็จะได้เพียง 1.2 ล้านคันเท่านั้น ยังไม่นับรถที่จองยังไม่ไปรับ จนกังวลว่าโครงการรถคันแรกโตแบบก้าวกระโดด และหากผ่อนรถไม่ไหว 2 งวดติดกัน เจ้าหนี้จะต้องเรียกผู้ซื้อรถมาพบแน่ ที่สุดแล้วก็จะเกิดคดีเข้าสู่ศาล
 
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)  กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยไม่ออมเงินก่อนแล้วค่อยใช้เงิน แต่กลายเป็นกู้ก่อนแล้วผ่อนใช้ และเปลี่ยนจากออมเงินเป็นออมทองคำแทน  ทั้งที่ทองคำไม่น่าออม คนไทยเป็นหนี้ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต  กับสินเชื่อส่วนบุคคล กับสินเชื่ออื่นๆ ยอดซื้อรถสูงถึง1.5 ล้านคันในปี55 ส่วนใหญ่จะผ่อนส่ง นำมาซึ่งหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น เงินที่กู้มาก็ไม่เอาไปลงทุนแต่เอามาใช้จ่าย ทาง ธปท.จะทำหน้าที่ดูระบบการให้สินเชื่อว่ามีการชำระหนี้คืนหรือไม่ จึงเป็นประเด็นต้องติดตามดูต่อไป
 
นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวปิดท้ายว่า การจองรถซื้อรถเป็นเรื่องของการแสดงเจตนาที่ผู้ซื้อมุ่งก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ขาย ปัญหาคือการขาดส่งค่างวด ปี55 มีฟ้องกันแล้ว32คดี ศาลวิเคราะห์ปัญหาเช่าซื้อพบว่า แม้สัญญาเป็นเครื่องการแสดงเจตนาเท่าเทียมกันแต่ผู้บริโภคไม่มีใครกล้าขอเปลี่ยนแปลงสัญญาสำเร็จรูป เป็นเรื่องอำนาจการต่อรองที่ไม่เท่าเทียม ซึ่งหากทำสัญญากันแล้วศาลจะไม่ยุ่ง ยกเว้นพบว่าเป็นสัญญาไม่เป็นธรรม และขัดต่อปัญหาความสงบสุขเอาเปรียบประชาชน ศาลจะแก้ไขให้ ตัวอย่างเช่น จองรถ 1 คัน ขาดส่งโดนฟ้อง ไฟแนนซ์ตั้งฟ้องมีคำขอท้ายฟ้อง เรียกรถที่ค้างคืน ค่าเช่าซื้อที่ค้างคืน ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้รถ ค่าติดตามทวงคืนรถ ค่าดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งเป็นหนี้ซ้ำซ้อน ดังนั้นเมื่อซื้อรถ 1 คัน ราคา1ล้านบาท ผ่อนไป 3 แสนบาทแล้วขาดส่ง หนี้จะท่วมกลายเป็นรถคันละ1.5ล้านบาท ไฟแนนซ์ก็ตั้งฟ้องมา1.5 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย ถ้าศาลพิพากษาไปตามที่โจทก์ฟ้องมาอย่างนี้ศาลก็กลายเป็นตรายางให้โจทก์
 
“ศาลจะดูว่า ไม่ให้ไฟแนนซ์เสียหาย ไม่ให้ขาดทุน แต่ไฟแนนซ์จะต้องไม่เรียกซ้ำซ้อน ดอกเบี้ยศาลก็จะให้ตามกฎหมาย แต่หากลูกหนี้ไม่ผ่อนส่ง จึงจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ รวมถึงค่าเสื่อมราคา และชดเชยค่าเสียหายแก่ไฟแนนซ์  ศาลจะดูแลไม่ให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่คำพิพากษาไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของข้อพิพาท แต่ศาลยังมีระบบระงับข้อพิพาทเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วย “นายสิทธิศักดิ์กล่าวตอนท้าย